วิธีการเขียนรายงาน
รายงาน
คือ การเขียนเล่าถึงสิ่งที่ได้พบเห็นหรือได้กระทำมาแล้ว
เช่น การค้นคว้า
ทางวิชาการ การไปศึกษานอกสถานที่ การไปพักแรมค่ายเยาวชน การประชุมกลุ่ม
การประสบเหตุการณ์ที่สำคัญ เป็นต้น
ลักษณะของรายงานคล้ายย่อความ
คือเก็บเฉพาะข้อความสำคัญแต่อาจ เพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่างได้ตามสมควร
แบบการเขียนรายงานไม่มีข้อกำหนดตายตัว เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
อาจกำหนดตามแบบของแต่ละสถาบัน
ส่วนต่าง ๆ ของรายงาน มี
3 ส่วน ดังนี้
1. ส่วนหน้า
ประกอบด้วย หน้าปก ใบรองปกหน้า (กระดาษเปล่า) หน้าปกใน หน้าคำนำ หน้าสารบัญ
2. ส่วนกลาง
ประกอบด้วย เนื้อเรื่อง เชิงอรรถ
3. ส่วนท้าย
ประกอบด้วย บรรณานุกรม ภาคผนวก ใบรองปกหลัง (กระดาษเปล่า)
ปกหลัง
1.1 การเขียนปก ให้เขียนชื่อเรื่อง และผู้เขียนรายงาน
กลางหน้ากระดาษ ไม่ต้องใส่คำว่า
ชื่อเรื่อง และผู้เขียนรายงาน
1.2 การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น
3 ส่วน ดังนี้
ส่วนบน ให้เว้นระยะ 2 นิ้ว จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน
และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน
ไม่ต้องใส่คำว่า ชื่อเรื่อง
ส่วนกลาง เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ
2 บรรทัดใส่คำว่าโดย และชื่อผู้เขียนรายงาน
ไม่ต้องใส่คำว่า ผู้เขียนรายงาน
ส่วนล่าง ให้เว้นระยะ
1 นิ้ว จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง
บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร
ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด ใครเป็นครูผู้สอน
การเขียนส่วนต่าง ๆ ของรายงานแต่ละส่วน
1. การเขียนปกรายงานและการเขียนหน้าปกใน
1.1 การเขียนปก ให้เขียนชื่อเรื่อง และผู้เขียนรายงาน
กลางหน้ากระดาษ ไม่ต้องใส่คำว่า
ชื่อเรื่อง และผู้เขียนรายงาน
1.2 การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น
3 ส่วน ดังนี้
ส่วนบน ให้เว้นระยะ 2 นิ้ว จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน
และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน
ไม่ต้องใส่คำว่า ชื่อเรื่อง
ส่วนกลาง เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ
2 บรรทัดใส่คำว่าโดย และชื่อผู้เขียนรายงาน
ไม่ต้องใส่คำว่า ผู้เขียนรายงาน
ส่วนล่าง ให้เว้นระยะ
1 นิ้ว จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง
บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร
ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด ใครเป็นครูผู้สอน
2. การเขียนคำนำ
การเขียน “คำนำ” อยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน
2 นิ้ว ผู้เขียนรายงานจะระบุวัตถุประสงค์
ขอบเขตของเนื้อเรื่อง หรือแนวการค้นคว้า และคำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือให้ การค้นคว้ารวบรวม และเรียบเรียงรายงานนั้นให้สำเร็จลงด้วยดี
เมื่อหมดข้อความแล้วลงชื่อผู้เขียน วัน เดือน ปี
ที่เขียน ถ้าเป็นรายงานกลุ่มเขียนคำว่า
คณะผู้จัดทำ หน้าคำนำมักนิยมใส่เลขหน้าในวงเล็บไว้ด้านล่าง
3. การเขียนสารบัญ
การเขียน “สารบัญ” ผู้เขียนรายงานจะแบ่งเป็นบท
เป็นตอนระบุเนื้อเรื่องที่ปรากฏในรายงาน เรียงตามลำดับ
การเว้นระยะในการเขียนจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน 2 นิ้ว และข้อความในสารบัญ
จะอยู่ห่างจากริมซ้ายของกระดาษเข้าไป 1.1 นิ้ว
เริ่มตั้งแต่ คำนำ บท และ ชื่อของบท จนถึงส่วนท้าย คือบรรณานุกรม และภาคผนวก
เลขหน้าทางด้านขวามือจะอยู่ห่างจากขอบขวาของกระดาษ 1.1 นิ้ว
ผู้เขียนรายงานต้องทำรายงานเรียบร้อยแล้วจึงจะระบุเลขหน้าได้ว่า บทใด
ตอนใด อยู่หน้าใด
การนำบัตรข้อมูลที่บันทึกตามโครงเรื่องมาเขียนเนื้อหาของรายงาน
การเขียนเนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะผลการค้นคว้ารวบรวมทั้งหมดที่บันทึก
ลงในบัตรบันทึกข้อมูลจะนำมาเรียบเรียงไว้ในส่วนนี้
เรียงตามลำดับโครงเรื่องที่ปรากฏในสารบัญ ครอบคลุมตั้งแต่บทแรกถึงบทสุดท้าย
ในหน้าแรกของเนื้อเรื่องไม่ต้องใส่เลขหน้าเว้นจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมา 2 นิ้ว ไว้กลางหน้ากระดาษ ทุกครั้งที่ขึ้นบทใหม่ไม่ใส่เลขหน้าเฉพาะหน้านั้นแต่ให้นับหน้าด้วย
การเว้นระยะจากขอบล่างขึ้นมา ให้เว้น 1 นิ้ว จากขอบซ้ายของหน้ากระดาษเข้ามาเว้น
1.5 นิ้ว จากขอบขวาของหน้ากระดาษเข้ามา
เว้น 1 นิ้ว
ส่วนการย่อหน้าทุกครั้งให้เว้น 6 ช่วงตัวอักษร
เขียนตัวที่ 7
การทำบรรณานุกรมท้ายเล่ม
การลงบรรณานุกรม หากมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ลงภาษาไทยก่อน เรียงตามลำดับประเภท และในแต่ละประเภทเรียงตามลำดับอักษรผู้แต่ง
หรือเรียงตามลำดับอักษรรวมกันไม่แยกประเภท
แหล่งข้อมูล
http://www.bangkapi.ac.th/MediaOnLine/weerawanWMD/unit6_part16.htm
ขอบคุณครับ มีประโยชน์มากครับ
ตอบลบ